Digital Caliper
Model : วอร์เนียดิจิตอล 0-150MM/0-6
Digital Caliper
Model : เวอร์เนียดิจิตอล 0-200MM/0-8
Digital Caliper
Model : เวอร์เนียดิจิตอล 0-300MM/0-12"(0.01/0.0005")
ภคมน วสุบุณยเดชา
Sales Executive
081-583-1469
[email protected]
สายธาร ชำนาญเวช
เจ้าหน้าที่ขาย
089-479-3784
[email protected]
ชุดยึดพั้นช์แบบต่างๆ
ชุดยึดพั้นช์หรือรีเทนเนอร์ จะใช้ยึดพั้นช์มาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ แต่สามารถใช้ยึดไดได้ โดยนิยมใช้ยึดติดในแม่พิมพ์ขนาดใหญ่ หรือแม่พิมพ์ขนาดเล็กที่มีการปั้มรูจำนวนน้อย รีเทนเนอร์รุ่นสี่เหลี่ยม การใช้งานง่าย แต่ใช้กับกรณีที่มีปั้มห่างกันพอควรส่วนรีเทนเนอร์ที่มีปลายมน (End Retainer) จะใช้กับ งานปั้มที่มีรูใกล้ชิดกันได้ สำหรับงานปั้มที่มีรูใกล้ชิดกันมาก หรือมีจำนวนรูมาก จะนิยมใช้รีเทนเนอร์แบบพิเศษแทน
Last Update : 24/03/2014 10:21:49
พั้นช์และรีเทนเนอร์ แบบบอลล็อค
ในแม่พิมพ์ปั๊มโลหะมีความจำเป็นที่จะต้องถอดพั้นช์มาตรฐานออกได้อย่างรวดเร็วเพื่อประโยชน์ 1. ใช้ปั๊มงานที่มีรูปร่างแบบเดียวกันแต่มีการเจาะรูในตำแหน่งต่างกัน เช่น ซ้าย?ขวา หรือบางชิ้นงานไม่ต้องการให้มีรู 2. ต้องการให้เปลี่ยนพั้นช์ใหม่ได้เพียง 1-2 นาที ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุพั้นช์หัก
Last Update : 24/03/2014 10:15:34
ไดแบบต่าง ๆ
ในทำนองเดียวกันกับพั้นช์มาตรฐาน แม่พิมพ์ตัวเมียที่ใช้กับพั้นช์มาตรฐานสำหรับงานปั๊มรูขนาดเล็ก ก็มีการสร้างเป็นมาตรฐาน เป็นขนาดและความยาวต่างๆ กันให้เลือก โดยเรียกเป็นได (Button Dies) แต่เนื่องจากลักษณะการใช้งานตัวพั้นช์จะสึกเร็วกว่าแม่พิมพ์ ตัวเมีย ดังนั้นเกรดเหล็กที่ใช้ทำ จึงนิยมใช้ SKD11 เป็นหลัก ในกรณีที่ต้องการให้มีอายุทนนานมากๆ จึงจะใช้เหล็ก HAP40
Last Update : 24/03/2014 10:11:08
ประเภทพั้นมาตรฐานและไพลอตพั้นช์
งานปั๊มโลหะแผ่นจำนวนมากจะมีการเจาะรูขนาดเล็กๆ โดยเฉพาะขนาดที่สามารถอยู่ในวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 45 มม. พั้นช์หรือเข็มเจาะรูที่ใช้จึงได้มีการออกแบบขึ้นมาเป็นมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม
Last Update : 24/03/2014 10:04:53
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไดเซท (Die Set)
ไดเซทเป็นฐานที่ใช้ยึดแม่พิมพ์ตัวผู้และตัวเมีย (Punch & Die) ให้ติดอยู่และยังใช้เป็นชุดบังคับให้แม่พิมพ์ตัวผู้และตัวเมีย วิ่งตรงไม่เอียงไปเอียงมาในขณะใช้งาน ทำให้อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ยาวนาน นอกจากนี้ยังช่วยให้การติดตั้งแม่พิมพ์เข้าเครื่องปั๊มโลหะ (Press Machine) และการถอดแม่พิมพ์ออกจากเครื่องทำได้ง่ายขึ้นและรวดเร็ว
Last Update : 24/03/2014 08:59:04
โดเวลพินแบบตัน DPS
Brand : INTERTOOL
Model : DPS
Last Update : 10:35:49 24/11/2016
โดเวลพินแบบมีเกลียว
Brand : INTERTOOL
Model : DPT
Last Update : 10:01:49 24/11/2016
SC Dieset
Brand : INTERTOOL
Model : BO,BS,RO,RS,RT,RY
Last Update : 09:33:37 24/11/2016
SB Dieset
Brand : INTERTOOL
Model : BO,BS,RO,RS,RT,RY
Last Update : 09:31:19 24/11/2016
พันช์มีบ่า มีรูกลาง
Brand : INTERTOOL
Model : SP_-C
Last Update : 09:03:53 24/11/2016

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไดเซท (Die Set)

Last Update : 08:59:04 24/03/2014
Page View (2178)

                                                                          ไดเซท
                                                                     (DIE SETS)


        ไดเซทเป็นฐานที่ใช้ยึดแม่พิมพ์ตัวผู้และตัวเมีย (Punch & Die) ให้ติดอยู่และยังใช้เป็นชุดบังคับให้แม่พิมพ์ตัวผู้และตัวเมีย วิ่งตรงไม่เอียงไปเอียงมาในขณะใช้งาน ทำให้อายุการใช้งานของแม่พิมพ์ยาวนาน  นอกจากนี้ยังช่วยให้การติดตั้งแม่พิมพ์เข้าเครื่องปั๊มโลหะ (Press Machine) และการถอดแม่พิมพ์ออกจากเครื่องทำได้ง่ายขึ้นและรวดเร็ว

การแบ่งประเภทของไดเซทตามวัสดุที่ใช้ทำฐาน มี 2 ประเภท ดังนี้

        1. ไดเซทเหล็กหล่อ ใช้กับแม่พิมพ์ขนาดเล็ก มีความเที่ยงตรงสูง เนื่องจากไม่เกิดการแอ่นตัวขณะใช้งาน แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้งานที่มีแรงกระแทกสูงมาก อาจจะแตกได้ ไดเซทเหล็กหล่อจะมีขนาดเป็นมาตรฐานแน่นอน จึงไม่สามารถสั่งเป็นขนาดพิเศษตามต้องการได้ง่าย วัสดุที่ใช้ทำเป็นเหล็กหล่อเกรด FC250 จะสังเกตได้ว่าไดเซทที่ทำจากเหล็กหล่อจะใช้สัญลักษณ์ตัว “F” นำหน้า เพราะย่อมาจาก Ferrous Casting

        2. ไดเซทเหล็กเหนียว เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแม่พิมพ์เล็กหรือใหญ่ มีหลายขนาดให้เลือก หรือจะสั่งเป็นขนาดพิเศษใดๆ ก็ได้ วัสดุที่ใช้ทำฐานสำหรับไดเซทมาตรฐาน จะเป็นเหล็กเหนียวธรรมดา เกรด SS400 (SS41) ในกรณีที่ต้องการให้ไดเซทไม่ยุบตัว, แอ่น หรือเป็นรอยขณะใช้งานได้ง่าย อาจเลือกวัสดุเป็นเกรด S55C หรือเหล็กที่ผ่านการชุบแข็งมาแล้ว มีความแข็ง 30 HRC (เกรด P20) ไดเซทที่ทำจากเหล็กเหนียว จะใช้สัญลักษณ์ “S” นำหน้า เพราะย่อมาจาก Steel
 
การแบ่งประเภทของไดเซทตามตำแหน่งการวางของไกด์โพสท์และบูช บนฐานไดเซท  มี 4 ชนิดดังนี้

        1. ไกด์โพสท์วางหลัง 2 เสา (Back Post) ไดเซทประเภทนี้จะนิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากการป้อนชิ้นงาน หรือเหล็กแผ่นเข้าเครื่องปั๊มและหยิบออกทำได้ง่าย สะดวก ไม่มีอะไรมากีดขวาง ข้อเสียในการใช้งานคือ แรงที่ส่งจากเครื่องปั๊มในขณะใช้งานซึ่งวิ่งผ่านด้ามจับ จะไม่อยู่ตรงกลางของเสาไกด์โพสท์ ทำให้อาจเกิดการเอียงหรืองัดในขณะใช้งานได้ สัญลักษณ์ที่ใช้บอกตำแหน่งการวางไกด์โพสท์แบบนี้ใช้อักษร “B” ตามหลังสัญลักษณ์วัสดุ “S” หรือ “F” เช่น SB

        2. ไกด์โพสท์วางตรงกลาง 2 เสา  (Center Post) ไดเซทประเภทนี้จะมีความเที่ยงตรงดี แต่เนื่องจากแม่พิมพ์ต้องยึดอยู่ระหว่างกลางของเสาไกด์โพสท์ ทำให้การป้อนแผ่นวัสดุที่มีขนาดใหญ่เข้าเครื่องขณะใช้งานอาจทำได้ลำบาก ไม่สะดวกเหมือนรุ่น Back Post การป้อนแผ่นวัสดุจะทำได้ทางเดียวคือ ผ่านช่องระหว่างไกด์โพสท์ และเหล็กแผ่นจะต้องมีขนาดแคบกว่าช่องว่างระหว่างเสาไกด์โพสท์ สัญลักษณ์บอกการวางไกด์โพสท์ของไดเซทประเภทนี้ใช้อักษร “C” ตามหลัง สัญลักษณ์วัสดุ “S” หรือ “F” เช่น SC

        3. ไกด์โพสท์วางทแยง 2 เสา (Diagonal Post) ไดเซทประเภทนี้จะมีความเที่ยงตรงระหว่างแบบ Back Post กับ Center Post และที่คล้ายกับแบบ Center Post ก็คือแผ่นวัสดุที่ป้อนขณะแม่พิมพ์ใช้งานจะต้องแคบกว่าช่องว่างระหว่างเสาไกด์โพสท์ แต่การป้อนทำได้ทั้งจากด้านข้างหรือด้านหน้า ซึ่งต่างกับรุ่น Center Post ที่ทำได้ด้านเดียว ใช้สัญลักษณ์ “D” ตามหลังสัญลักษณ์ วัสดุ “S” หรือ “F” เช่น SD

        4. ไกด์โพสท์วางที่มุมทั้งสี่ (Four Post) ไดเซทประเภทนี้ จะให้ความเที่ยงตรงแก่แม่พิมพ์สูงสุด นิยมใช้กับแม่พิมพ์ที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง โดยเฉพาะแม่พิมพ์ประเภท Progressive Die ใช้สัญลักษณ์ “F” ตามหลัง สัญลักษณ์ วัสดุ เช่น SF โดยทั่วไปไดเซทประเภทสี่เสาจะไม่นิยมใช้เหล็กหล่อเป็นวัสดุทำฐาน

 

บริษัท อินเตอร์ทูล เทคโนโลยี จำกัด

โทร. 02-313-1199, 02-706-0899



 
© 2000-2008 CopyRight by Intertool Technologies Co., Ltd.
Tel. 02-3131199 (14 lines)  Fax. 02-3131114  Website. www.theintertoolgroup.com
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login