มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง IE2
มาตรฐานมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงระดับ IE2 (High Efficiency Motor) จะมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์มาตรฐาน EFF2 และ CEMEP
Last Update : 07/01/2021 14:58:26
มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง IE3
มาตรฐานมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงระดับ IE3 (Premium High Efficiency Motor) จะมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์มาตรฐาน IE1, IE2, EFF2, EFF1 และ CEMEP
Last Update : 07/01/2021 14:57:02
ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor Parts)
มอเตอร์ไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ ?เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล? โดยขดลวดสเตเตอร์ได้รับพลังงานไฟฟ้า และเกิดการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นผลให้โรเตอร์หมุน ซึ่งมอเตอร์ไฟฟ้าโดยทั่วไป จะมีส่วนประกอบดังนี้
Last Update : 07/01/2021 11:23:09
หลักการพิจารณาเลือกซื้อมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง
หลักการเลือกซื้อ เปรียบเทียบราคาและค่าใช้จ่ายในการใช้งานมอเตอร์
Last Update : 20/07/2020 13:17:16
การอ่านแผ่นป้ายมอเตอร์ CMG
การอ่าน รายละเอียดแผ่นป้ายมอเตอร์ไฟฟ้า
Last Update : 20/07/2020 13:12:54
Fuel Polishing
Brand : AXI International
ระบบบำรุงรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงอัจฉริยะ (Fuel Polishing) เป็นเวลากว่า 20 ปีที่ AXI International ได้คิดค้นและออกแบบระบบการจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ดีที่สุด ด้วยระบบอัตโนมัติ ช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น ติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวก ตั้งแต่ขั้นตอนการเติมน้ำมัน การถ่ายโอนไปยังถังน้ำมัน การบำบัดด้วยระบบอัตโนมัติ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์สามารถครอบคลุมความต้องการด้านการจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Last Update : 16:50:13 19/11/2021
มอเตอร์กันระเบิด (Explosion Proof Motor)
Brand : OMEx (ITALY)
Last Update : 11:15:20 02/07/2020
มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง CMP (IE3)
Brand : CMP (Australia)
มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง CMP (IE3) จากประเทศออสเตรเลีย สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ประหยัดพลังงานประหยัดค่าไฟ คืนทุนเร็ว
Last Update : 11:14:26 02/07/2020
มอเตอร์กันระเบิด ( Increased Safety )
Brand : CMG
Model : SGAE
รายละเอียดผลิตภัณฑ์ มอเตอร์ CMG รุ่น SGAE เป็นมอเตอร์กันระเบิด (Ex e) เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยง (Hazardous Location) ตัวมอเตอร์ไฟฟ้า พัฒนามาจากมอเตอร์ไฟฟ้ามาตรฐาน ทำให้มีระดับการป้องกันที่สูงกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าธรรมดาทั่วไป โดยส่วนประกอบต่างๆของมอเตอร์ จะไม่ก่อให้เกิด อาร์ค หรือ การสปาร์ค ในการทำงานปรกติ มอเตอร์ไฟฟ้ารุ่นนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่มองหามอเตอร์ราคาไม่แพง และต้องการใช้มอเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง โดยรองรับการใช้งานทั้งใน โซน 1 และ โซน 2
Last Update : 09:52:34 29/06/2020
มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (IE2)
Brand : CMG
Model : HGA Series
มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ประหยัดค่าไฟฟ้า สามารถคืนทุนได้ในเวลาอันสั้น
Last Update : 00:07:00 17/06/2020

ที่มาของคำว่า "แรงม้า" ของมอเตอร์ ??

Last Update : 11:59:11 02/07/2020
Page View (2177)

 

                  ที่มาของ “แรงม้า” (Hp – Horsepower) ที่ใช้เรียกหน่วยของมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ เครื่องยนต์ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน  เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ เมื่อ “เจมส์ วัตต์” (James Watt) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ ได้ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำรุ่นเก่าของ “โธมัส นิวโคเมน” (Thomas Newcomen) จนได้เป็นเครื่องจักรไอน้ำแบบใหม่ และวัตต์ ได้ขอคิดค่าลิขสิทธิ์เท่ากับ 1 ใน 3 ของมูลค่าถ่านหินที่เครื่องจักรของเขาช่วยประหยัดได้เมื่อเทียบกับการใช้เครื่องจักรรุ่นเก่าของนิวโคเมน

แต่เนื่องจากมีผู้ใช้งานบางส่วนที่ใช้แรงงานสัตว์ขับเคลื่อนเครื่องจักร และไม่เคยใช้เครื่องจักรไอน้ำมาก่อน ทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวได้ ดังนั้น วัตต์จึงต้องคำนวณพลังของม้าออกมา โดยการเปรียบเทียบหน่วยพลังงานของเครื่องจักรว่าสามารถทำงานแทนพลังงานสัตว์ เช่น ม้า ได้มากน้อยเพียงใด เพื่อคิดค่าลิขสิทธิ์กับลูกค้ากลุ่มนี้

ท้งนี้ วัตต์ได้คำนวณออกมาว่า ม้าสามารถหมุนเครื่องโม่แป้งที่มีรัศมี 12 ฟุต ได้ 144 ครั้งภายใน 1 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 2.4 ครั้งต่อนาที เมื่อคิดโดยเทียบสูตรจะได้ กำลัง (p) = งาน (w) / เวลา (t) = [แรง (F) x ระยะทาง (d)] / เวลา (t) จึงได้ตัวเลขออกมาว่า 1 แรงม้า = [(180 ปอนด์) x (2.4 x 2π x 12 ฟุต)] / 1 นาที = 32,572 ฟุต-ปอนด์ต่อนาที ปัดเศษเป็น 33,000 ฟุต-ปอนด์ต่อนาที

อีกหนึ่งที่มาระบุว่า วัตต์เคยทำการทดลองและพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วม้าแคระยกของน้ำหนัก 220 ปอนด์ ได้สูง 100 ฟุต ต่อ 1 นาที ในการทำงานเป็นกะ กะละ 4 ชั่วโมง ส่วนม้าตัวใหญ่มีกำลังมากกว่าม้าตัวเล็ก 50% ค่าแรงม้าที่ได้จึงได้เป็น 1.5 x 100 x 220 = 33,000 ฟุต-ปอนด์ต่อนาที

แม้ว่าเราจะได้ยินคำว่า “แรงม้า” กันอยู่ในวงการยานยนต์ที่ใช้ระบุกำลังของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน หรือในมอเตอร์ที่ผลิตจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ แต่หน่วยแรงม้าเป็นหน่วยวัดพลังงานรุ่นเก่าที่ไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากมีหน่วย “วัตต์” (ได้มาจากชื่อ เจมส์ วัตต์) ซึ่งเป็นระบบหน่วยระหว่างประเทศ SI (The International System of Unit) ใช้กันแพร่หลายมากกว่า

ทั้งนี้ ประเทศในแถบยุโรปที่ใช้มาตรฐาน IEC รวมทั้ง มอก.ของไทย ได้กำหนดหน่วยของกำลังไฟฟ้ารวมทางขาออกของมอเตอร์เป็น “วัตต์” (Watt) หรือ “กิโลวัตต์” (Kilo-Watt) ซึ่งเมื่อเทียบค่าแรงม้าเป็นค่าตามระบบ SI จะได้ 1 แรงม้า = 745.69987158227022 วัตต์ ปัดเศษเป็น 746 วัตต์ หมายความว่า หากใช้ม้า 1 ตัวปั่นไฟให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เราจะได้กระแสไฟฟ้าออกมาต่อเนื่อง 746 วัตต์ นั่นเอง 


 
 


 
© 2000-2008 CopyRight by ULTIMATE COMMERCIAL CO., LTD
Tel. 099-434-1777  Website. www.uccmotor.com
disclaimer | privacy | contact us 

  Sale Login Warehouse Login Driver Login